วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การวิเคราะห์ประโยค (Sentence Analysis)

คือ การอ่านโครงสร้างประโยคเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้อง โดยการพิจารณาถึงส่วนประกอบของรูปแบบประโยคแต่ละประเภทซึ่งมีด้วยกัน 5 แบบหลัก


โครงสร้างประโยคพื้นฐานในภาษาอังกฤษ

1. Subject + Verb (ใช้เมื่อกริยาเป็น Intransitive Verb)

                เช่น My little brother is sleeping profoundly in his bedroom.



2. Subject + Verb + Object (ใช้เมื่อกริยาเป็น Mono-Transitive Verb)

เช่น The teacher punished three students who came to school late.



3. Subject + Verb + Indirect Object + Direct Object (ใช้เมื่อกริยาเป็น Di-Transitive Verb กริยาประเภทนี้ต้องการกรรม 2 ตัว คือ กรรมตรง และกรรมรอง มักท่องจำกันว่ากรรมตรงของ กรรมรองคน คนอยู่หน้าของ รองอยู่หน้าตรง”)

เช่น I gave my girlfriend a very expensive diamond ring as her birthday present. (กรรมตรง คือ a very expensive diamond ring กรรมรอง คือ my girlfriend)



4. Subject + Verb + Complement (ใช้เมื่อกริยาเป็น Linking Verb เช่น verb to be, feel, sound, taste, smell, become, turn, get, grow, keep, go, come, look, appear, stay, remain, seem, etc.

เช่น The food my mom is cooking looks delicious and its smells really good.



5. Subject + Verb + Object + Complement (ใช้เมื่อกริยาเป็น Complex-Transitive Verb กริยาประเภทนี้ต้องการกรรมและส่วนเติมเต็มของกรรม เช่น find, think, have, get, make, render, like, set, let, leave, keep, want, consider, regard, open, paint, name, call, appoint, prove, elect, choose, verb of perception

(see, hear, smell, notice, observe, watch)

เช่น Every student found the final English exam very difficult and so confusing.

                    The committee finally drew a conclusion and appointed Thomas new chairman.

หมายเหตุ : ส่วนเติมเต็มของกรรมสำหรับกริยากลุ่มนี้อาจเป็น Adjective หรือ Noun Phrase






วิธีการวิเคราะห์โครงสร้างประโยค

1. หากริยาแท้ (Main Verb) ของประโยค

หลักการสังเกต คือ              - กริยาแท้จะผันตาม Tense และ Voice (Active or Passive Voice)

   - กริยาแท้จะตามหลัง Helping Verb ดังนั้นหากสังเกตได้ว่ามี helping verb + infinitive verb นั่นก็คือกริยาแท้ของประโยคนั่นเอง

(Helping Verb ได้แก่ can, could, will, would, shall, should, may, might, ought to, had better, would rather, must, have to, used to, be going to, do, verb to be, verb to have)

หมายเหตุ :           Verb to be + V.ing            = กริยาแท้ (Continuous Form)

                             Verb to be + V.3               = กริยาแท้ (Passive Form)

 Verb to have + V.3           = กริยาแท้ (Perfective Form)

(เมื่อผันตามTense และ Voice)

Non-Finite Verb ได้แก่ V.ing, V.3, Infinitive Verb และ To Infinitive ที่อยู่ตามลำพัง กล่าวคือไม่เป็นไปตามรูปแบบที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จะไม่นับเป็นกริยาแท้

นอกจากนี้แล้วเราสามารถสังเกตว่าคำใดเป็นกริยาได้จาก Verb Suffix : -en / -ize / -ify / -ate



2. หาประธาน (Subject) และกรรม (Object) ของประโยค สิ่งที่สามารถเป็นประธานหรือกรรมของประโยคได้นั้น คือ Noun, Pronoun, Noun clause, Gerund (V.ing), Question word + To Infinitive

พึงจำไว้ว่าส่วนเติมเต็ม (Complement) ไม่นับเป็น Object เพราะไม่ได้ถูกกระทำแต่อย่างใด



3. ตัดส่วนขยาย (Modifier) ในประโยคทิ้งไป ได้แก่

- บุพบทวลี (Prepositional Phrasal)

- ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม (Adjective Clause or Relative Clause)

- ประโยคที่ขึ้นต้นด้วยคำเชื่อม (Clause with connector)

- กริยาไม่แท้ที่ทำหน้าที่เป็นส่วนขยาย (Present Participle : V.ing or Past Participle: V.3)

- เครื่องหมายวรรคตอน (Punctuation) ได้แก่ ,  -  ;  :  ( )

พึงจำไว้ว่าส่วนเติมเต็ม (Complement) ไม่ใช่คำขยาย (Modifier) เพราะฉะนั้นจึงตัดทิ้งไม่ได้ เพราะหากขาดซึ่งส่วนเติมเต็มแล้ว ประโยคก็จะมีใจความไม่สมบูรณ์

ทำความรู้จักกับ P'Jay

สวัสดีครับทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกของผม ผมมีความตั้งใจที่จะใช้บล็อกของผมเพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ความรู้ภาษาอังกฤษให้กับท่านที่สนใจในการพัฒนาความรู้ภาษาอังกฤษนะครับ ผมตั้งใจเขียนบล็อกนี้ขึ้นมาด้วยเล็งเห็นว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องการฝึกฝนและพัฒนาความรู้ภาษาอังกฤษของตัวเอง แต่มีข้อจำกัดหลายประการในการที่จะทำให้ความตั้งใจดังกล่าวประสบความสำเร็จได้ เช่น

- นักเรียนเรียนที่โรงเรียนไม่เข้าใจ เพราะครูสอนเร็วเกินไป หรือตนเองมีพื้นฐานไม่ดีมาตั้งเเต่ต้น

- นักเรียนที่ต้องการกลยุทธ์ในการทำข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยหรือข้อสอบแข่งขันต่างๆ เนื่องจากครูไม่ได้เน้นย้ำประเด็นที่เป็นปัญหาที่มักนำไปออกข้อสอบ

- บุคคลทั่วไปที่มีความรู้พื้นฐานภาษาอังกฤษไม่มากนัก ต้องการที่จะพัฒนาทักษะของตัวเองแต่ไม่สามารถทำได้เพราะข้อจำกัดต่างๆ เช่น ค่าเรียนที่แสนแพง ไม่มีเวลาไปเรียนเพราะต้องทำงาน

                                                                        ฯลฯ

ผมจึงคิดว่าการถ่ายทอดความรู้ภาษาอังกฤษผ่านบล็อกที่ผมเขียนขึ้นนี้อาจจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย แต่เนื่องจากผมเพิ่งเขียนบล็อกที่ให้ความรู้ทางด้านวิชาการเป็นครั้งแรก จึงอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ผมจึงขอน้อมรับคำแนะนำและคำติชมจากทุกท่านด้วยขอบความพระคุณยิ่ง